อันนี้ เป็นวงจรการทำงานพื้นฐานนะครับ แน่นอน ถ้าจะทำจริงๆ ก็ต้องดัดแปลง ปรับปรุงให้เกิดความเสถียรภาพมากกว่านี้ ไม่ว่าจะเป็นระบบสำรองไฟฟ้า หากเกิดกรณีไฟฟ้าดับ และระบบป้องกันไฟเกิน และอื่นๆ อีกที่ควรจะใส่เข้าไป เพื่อให้ระบบเราทำงานได้ แม้ในสภาวะที่ไม่ปกติด้วยนะครับ ก็ลองไปคิดๆ กันดูว่าต้องมีอะไรบ้าง
ในที่นี้ ผมจะสมมติให้ push button ทำหน้าที่เป็นสวิทช์ประตู เมื่อมีการเปลี่ยน logic จาก high เป็น low ให้ raspberry Pi ทำการเริ่มส่งเมล์ มาตามที่กำหนดไว้ในโค๊ด
ด้วยความสามารถของ Python เราสามารถที่จะเรียก package smtplib เพื่อติดต่อกับ mail server (ในที่นี้ ผมต้องการติดต่อกับ mail server ของ Gmail ) แล้วทำการส่งข้อความไปที่ inbox ของ mail ปลายทางที่เราต้องการได้ (ซึ่งนั่น น่าจะเป็นเมล์ของเรานะครับ) เรามาดูโค๊ดกันเลยครับ
สร้างไฟล์นี้ด้วยคำสั่ง nano mail.py
แล้วเขียนโค๊ดตามข้างล่างนี้ (ระวังเรื่อง indent ด้วยนะครับ สำหรับภาษาไพธอนเราจะใช้การ indent เป็นตัวจัดกลุ่มของคำสั่ง )
#--------------------------- Code start here ------------------------------------------------
#! /usr/bin/python
import RPi.GPIO as GPIO
import smtplib
import time
LOOP = True
GPIO.setmode(GPIO.BOARD)
GPIO.setup(26,GPIO.IN,pull_up_down=GPIO.PUD_UP)
SMTP_SERVER = 'smtp.gmail.com'
SMTP_PORT = 587
sender = 'raspberry security system'
recipient = 'wisit.paewkratok@gmail.com'
subject = 'Raspberry Pi Alert System'
body = 'The door is opned!!!'
headers = ["From: " + sender,
"Subject: " + subject,
"To: " + recipient,
"MIME-Version: 1.0",
"Content-Type: text/html"]
headers = "\r\n".join(headers)
username = ‘ชื่อล๊อกอินของ Gmail'
password = 'พาสเวิร์ดสำหรับ Gmail'
while True:
if(GPIO.input(26) == False):
print('Mail alert sending....\n')
server = smtplib.SMTP(SMTP_SERVER,SMTP_PORT)
server.ehlo()
server.starttls()
server.ehlo()
server.login(username,password)
server.sendmail(sender,recipient,headers + "\r\n\r\n" + body)
server.quit()
GPIO.cleanup()
LOOP = False
print('Program terminated\n\n')
break
time.sleep(1)
print('program is running ' + time.ctime() )
#----------------------------------- End Code ----------------------------------------------------------
ทำการบันทึกไฟล์ แล้วทำการเปลี่ยนให้ไฟล์นี้สามารถ execute ได้ ด้วยคำสั่ง
sudo chmod 755 mail.py
แล้วทำการทดลองรันสคริปต์ไพธอน ด้วยคำสั่ง
sudo ./mail.py
ถ้าทุกอย่างถูกต้อง เราจะพบเมล์ในกล่องขาเข้าของจดหมาย จาก raspberry security system
จากตัวอย่างที่นำเสนอนี้ เป็นรูปแบบอย่างง่าย นะครับ หากจะนำไปใช้จริงๆ เพื่อนต้องปรับแต่งให้ระบบของเพื่อนๆ สามารถที่จะตรวจสอบได้ตลอดเวลา ว่ายังทำงานอยู่หรือเปล่า และเมื่อเวลาเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้ว จะให้ Email ส่งมาเตือนกี่ครั้ง และจะรีเซตระบบกลับเหมือนเดิมได้อย่างไร นั่นเป็นสิ่งที่ต้องนำกลับไปคิดกันต่อนะครับ ลองๆ เอาไปประยุกต์กันดูนะครับ หวังว่าคงเริ่มสนุกกับ Raspberry Pi แล้วนะครับ
1 ความคิดเห็น:
กดสวิซแล้วไม่ส่ง
Post a Comment