Monday, August 13

Raspberry Pi

     ผมได้บอร์ด Raspberry Pi มาจากจำนวน “ถูกใจ” จำนวนเยอะที่สุดจากการ่วมเล่นรายการผ่านหน้าแฟนเพจของ INEX ต้องขอขอบคุณเพื่อนๆ ที่มาช่วยกันกด “ถูกใจ” กันซะเยอะขนาดนี้ (ตั้ง 140 คะแนน )  จริงๆ แล้วบอร์ด Raspberry Pi นี้ ก็ราคาไม่แพงเท่าไหร่ แต่ ทางผู้ผลิต ไม่สามารถผลิตบอร์ดนี้ได้ทันความต้องการของลูกค้าทั่วโลกได้ ยิ่งถ้าเป็นเมืองไทยแล้ว ต้องรอคิวกันหน่อย แต่ ด้วยความที่ทางบริษัท INEX ได้เล็งเห็นความต้องการของนักพัฒนาบ้านเรา จึงได้ทำการติดต่อกับไปทางบริษัทแม่ เพื่อขอนำเข้า Raspberry Pi เข้ามาได้จำนวนหนึ่ง และ ได้นำมาแจกให้เล่นเกมด้วย 1 บอร์ด ซึ่งต้องขอขอบคุณทาง INEX ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ ที่ได้สนับสนุนวงการ Embedded บ้านเราด้วยดีเสมอมา

มาดูรูปร่างหน้าตา และคุณสมบัติของบอร์ด Raspberry Pi กันสักหน่อย 

Raspberry Pi Board (Model B)

ส่วนประกอบบอร์ด

Rasbperry Pi Hardware specification

    สิ่งที่เราต้องหาซื้อเพิ่มเติม ก็มี แหล่งจ่ายไฟ 5Volt DC ที่สามารถจ่ายกระแสได้ไม่น้อยกว่า 700mA (เพราะฉะนั้น ไฟจากพอร์ต USB ของคอมพิวเตอร์ของเรา ไม่สามารถที่จะจ่ายกระแสได้เพียงพอแน่นอน) ซึ่งทาง Inex เค้าก็มีชุดจ่ายไฟกระแสตรง พร้อมสาย USB mini ขายอยู่ ก็ลองหาซื้อมาใช้ดูครับ สะดวกดีครับ

และสาย AV สำหรับต่อจากพอร์ต AV out เข้ากับ AV-in ของโทรทัศน์ของเรา เพื่อใช้ในการแสดงผล

อีกอย่างที่จำเป็นก็คือ SD-CARD class 4 ความจุไม่ควรจะน้อยกว่า 4GB เพราะลำพังตัว Debian OS ที่จะต้องติดตั้งลงบน SD-Card ก็ใช้พื้นที่ไป เกือบๆ 2 GB เข้าไปแล้ว (หาซื้อตามห้างสรรพสินค้าทั่วไปก็ได้) แต่ ที่ต้องเน้นก็คือ ขอให้เป็น SD-Card Class 4 นะครับ

Raspberry Pi Hardware set

    ถ้ามีทั้งหมด พร้อมแล้ว อย่าเพิ่งคิดว่าจะเล่นเจ้าบอร์ดนี้ได้เลยนะครับ เราจะต้องทำการติดตั้ง Linux OS ลงบน SD-Card ของเราก่อน เพราะเจ้าบอร์ด Raspberry Pi ไม่ได้มี Hard disk สำหรับเก็บข้อมูลและโปรแกรม แต่ใช้ SD-Card ราคาถูกๆ นี่แหละ ในการเก็บ OS และโปรแกรมต่างๆ ไว้บนนี้ เพราะฉะนั้น บางทีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลอาจจะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง

     สำหรับเจ้า Linux OS ที่สามารถติดตั้งบน SD-Card ของ Raspberry Pi จะแตกต่างจาก Linux OS ที่ติดตั้งบน PC ของเราเนื่องจากเค้าจะต้องทำการตัดต่อให้เข้ากับบอร์ดของ Raspberry Pi ที่เค้าทำไว้ให้เรา ก็มีหลายค่ายมาก แต่ที่เป็นที่นิยม ณ ตอนนี้ ก็มี เจ้า Raspian (ซึ่งมาจาก Debian Wheezy (7.x) นั่นแหละครับ) และอีกตัวที่เป็นที่นิยม ก็คือ Arch Linux ตัวนี้จะค่อนข้างใช้พื้นที่น้อยกว่าเจ้า Raspian เพราะมันไม่มีส่วนของ GUI Interface มาด้วย (ใครที่ชอบฮาร์ดคอร์ ก็แนะนำเล่นตัวนี้เลยครับ) สำหรับผมแล้ว ขอเล่นเจ้า Raspian ก็แล้วกัน เพราะค่อนข้างหาข้อมูลได้ง่ายกว่า

    บางคนอาจจะมีคำถามว่า แล้ว Ubuntu หล่ะ สามารถติดตั้งได้ไหม เท่าที่ทราบตอนนี้คือ Ubuntu มันรองรับได้แค่ ARM7 หน่ะครับ ทำให้ยังไม่สามารถที่จะติดตั้งบน ARM11 ของเจ้า Raspberry Pi ได้ คงต้องรอไปก่อน แต่ คิดว่า ถ้ากระแสของเจ้า Raspberry Pi ยังแรงเรื่อยๆ ต่อไป เราคงได้เห็น Ubuntu หรือไม่ก็ Android อย่างแน่นอน

แล้วเจ้าบอร์ด Raspberry pi มันเหมาะกับงานแบบไหนหล่ะ ???

     คงต้องบอกก่อนว่า เจ้าบอร์ด Raspberry Pi มันก็เหมือน คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง (แต่อาจะเร็วไม่เท่า) ที่มี OS เป็น Linux แต่ กินไฟน้อยกว่า สามารถที่จะบรรจุลงกล่องขนาดเล็กได้ และนำไปติดตั้งไว้ที่ไหนก็ได้ เพราะฉะนั้น งานที่น่าจะเหมาะกับเจ้า Raspberry Pi ก็น่าจะเป็นงานที่ต้องทำ Application ที่ รันบน Linux ได้ (ซึ่งได้แก่ภาษา Python และ C เป็นต้น) แต่ ไม่ต้องประมวลผลอย่างหนักหน่วงเท่าไหร่นัก  เท่าที่ มีคนเสนอไอเดียการนำ Raspberry Pi ไปใช้ ตอนนี้ ก็เห็นมี 3 งาน ที่น่าสนใจ คือ 1) Internet Radio เพราะเจ้า Raspberry Pi (model B ) จะสามารถเชื่อมต่อกับ Internet ได้เลย 2) Media Streaming  โดยต่อแหล่งข้อมู, เช่น หนัง HD เข้าทางพอร์ต USB แล้วต่อจอทีวีเข้าทาง AV port ทำเป็นเครื่องเล่นหนัง ดูในรถยนต์ ก็น่าสนใจไม่น้อย 3) Security system อันนี้ น่าสนใจไม่น้อย เพราะความที่มันเป็นเหมือนคอมพิวเตอร์เล็กๆ เครื่องหนึ่ง การสร้าง application ระบบรักษาความปลอดภัย น่าจะทำได้ยืดหยุ่นมากกว่า การทำบนไมโครคอนโทรลเลอร์เล็กๆ มากกว่า

เดี๋ยวตอนต่อไป เรามาดูการติดตั้ง Raspian ลงบน SD-Card กันดีกว่า

4 ความคิดเห็น:

Anonymous said...

ถ่ายรูป ถ่ายคลิป ถ่ายทอดวิธีการทำ เล่าสู่กันฟังกันให้หน่อยซิครับ

Wisit.P on 10 September 2012 at 09:47 said...

กำลังหาเวลาว่างด้วยหน่ะครับ จะพยายามอัพเดทเรื่อยๆ ครับ ขอบคุณที่ติดตาม

Anonymous said...

ขาดแคลนทรัพยากรเวลาอยู่เหมือนกันครับ

Unknown on 15 July 2013 at 09:48 said...

"...เท่าที่ทราบตอนนี้คือ Ubuntu มันรองรับได้แค่ ARM7 หน่ะครับ ทำให้ยังไม่สามารถที่จะติดตั้งบน ARM11 ของเจ้า Raspberry Pi ได้..."

ผมคิดว่า Mr.P คงสับสนเรื่องรุ่นกับเวอร์ชั่นของ ARM
RPi เป็น ARM11 ซึ่งเป็น ARMv6
ปัจจุบันมีถึง ARMv8 ครับ)
และ Ubuntu เลิกซัพพอร์ต ARMv6 แล้วครับ
ต้องใช้ ARMv7 ขึ้นไป

 

แจกฟรี พื้นที่ฝากไฟล์ 15 GB

ติดตามข่าวสารผ่าน Twitter

ติดตาม Blog นี้

Blog อื่นๆของฉัน

  • Test AMR Fleet Management program - ระบบบริหารจัดการจราจรและจัดคิวงานของรถ AMR (Autonomous Mobile Robot) ที่พัฒนาโดยบริษัท WP Solution Co., Ltd. จากภาษา C# ทั้งในส่วนของ Backend (Service app...
  • Gearset matching 2021 program - เป็นงานใหญ่ที่เพิ่งจบไป ที่ระยอง ปลวกแดง บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ คอนเซปต์ คือต้องการเก็บค่าหลังจากการทดสอบชิ้นส่วยรถยนต์ เพื่อเก็บไว้ในฐานข้อมูลให้แผนกถ...
  • Free Screen Capture โปรแกรมบันทึกหน้าจอ ฟรีๆ - หากเพื่อนๆ จะมองหาโปรแกรม ที่ไว้สำหรับบันทึกหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะบันทึกในรูปของภาพนีิ่ง (Screen shot) หรือแบบบันทึกเป็นภาพเคลื่อนไหว ( screencas...
  • Type-Fu : Typing practice game online - หากใครที่สนใจ หรือจะต้องทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หนึ่งในความจำเป็นก็คือ จะต้องเรียนรู้ที่พิมพ์สัมผัสได้ เพราะการที่พิมพ์สัมผ้สได้ มันได้ประโยชน์หลายๆ อย...

Microcontroller Electronics update

สถิติเยี่ยมชมบล๊อก